มาตรฐานพร้อมก้าวไปกับโลกของเอไอ

Last updated: 7 ม.ค. 2563  |  741 จำนวนผู้เข้าชม  | 

มาตรฐานพร้อมก้าวไปกับโลกของเอไอ

มีรายงานเมื่อเร็วๆ นี้ของสถาบันแม็คคินซีย์โกลบอลกล่าวถึงการลงทุนในเอไอว่ามีการเติบโตที่รวดเร็ว และได้คาดการณ์ว่าผู้นำด้านดิจิตอลอย่างกูเกิ้ลมีการใช้จ่ายระหว่าง 20 – 30 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อปี 2559 (ค.ศ.2016) โดยมีการกระจายการลงทุนไปกับการวิจัยและพัฒนาถึง 90% และเน้นด้านเอไออีก 10%

จากองค์กรความร่วมมือข้อมูลสากล (International Data Corporation: IDC) ระบุว่าภายในปีหน้า โครงการที่เกี่ยวข้องกับดิจิตอลทรานสฟอร์เมชั่นจะทำให้เกิดธุรกิจเอไอประเภทต่างๆ 40% และภายในปี 2564 (ค.ศ.2021) 75% ของแอพพลิเคชั่นธุรกิจจะมีการนำเอไอไปใช้โดยมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นประมาณ 52.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ข้อมูลจากประธานคณะกรรมการวิชาการคณะใหม่ของไอเอสโอ ISO/IEC JTC1, Information technology, subcommittee SC 42, Artificial intelligence วิลเลียมกล่าวถึงคณะกรรมการวิชาการดังกล่าวว่าได้เริ่มต้นด้วยการพัฒนามาตรฐานพื้นฐานอย่างแนวคิดและคำศัพท์ (ISO/IEC 22989) ซึ่งเน้นถึงประโยชน์ของเอไอที่มีอยู่ค่อนข้างกว้างและเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมากเช่น Data Scientist, digital practitioners และองค์กรด้านกฎระเบียบ แต่ก็ยังมีช่องว่างของเอไออยู่ เช่น คนมีแนวโน้มที่จะคิดว่าเอไอเป็นหุ่นยนต์อัตโนมัติหรือคอมพิวเตอร์ที่สามารถเล่นเกมชนะเซียนหมากรุกได้ แต่เอไอเป็นได้มากกว่านั้น กล่าวคือ เป็นการรวบรวมเอาเทคโนโลยีที่สามารถทำให้นำเอาข้อมูลความรู้ที่รวบรวมไปใช้ในรูปแบบของสารสนเทศจากเครื่องจักรจนกระทั่งเกิดประสิทธิผล

วิลเลี่ยม ประธานคณะกรรมการวิชาการ ISO/IEC JTC 1 อธิบายว่าบ่อยครั้ง เอไอถูกมองว่าเป็นกลุ่มที่มีระบบจัดการด้วยตนเองแบบอัตโนมัติ  ในระบบเอไอหลายระบบ การจัดการข้อมูลที่ดีจะมีการเตรียมการก่อนที่จะป้อนเจ้าสู่เครื่องจักรที่มาในรูปแบบของแมชชีนเลิร์นนิ่งซึ่งจะสามารถใช้ประโยชน์ด้านการคาดการณ์จากข้อมูลที่มีอยู่ได้ เทคโนโลยีนี้ยังรวมถึง Big data และการวิเคราะห์ต่างๆ ด้วย

วิลเลี่ยมซึ่งเป็นผู้อำนวยการอาวุโสของหัวเว่ยเทคโนโลยีและเป็นประธานคณะอนุกรรมการวิชาการ ISO/IEC มีความรู้และประวัติการศึกษาด้านวิศวกรรมไฟฟ้า เศรษฐศาสตร์ และการบริหารธุรกิจจากทั้งสแตนฟอร์ดและวอร์ตัน โดยมีประวัติการทำงานที่เน้นไปในด้านกลยุทธ์ด้านธุรกิจและเทคโนโลยี นอกจากนี้ ยังทำงานให้กับบริษัทข้ามชาติอย่างซิสโก้และบรอดคอมรวมทั้งเป็นที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี IoT เมื่อเร็วๆ นี้ ยังเป็นเลขานุการของคณะกรรมการนำร่องของ Industrial Internet Consortium เขาได้เตรียมจดสิทธิบัตรมากกว่า 850 รายการ และเกือบ 400 รายการอยู่ในระหว่างการตรวจสอบและใกล้จะได้รับการจดสิทธิบัตรแล้ว

วิลเลี่ยมมีความเชี่ยวชาญอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่การบ่มเพาะในช่วงเริ่มต้นไปจนถึงการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเชิงกลยุทธ์ และการมาตรฐานซึ่งเขามองว่าเป็นพาหนะที่สมบูรณ์แบบในการขยายธุรกิจอุตสาหกรรมในภาพรวม เขากล่าวว่าเราจำเป็นต้องมีมาตรฐานสำหรับเอไอด้วยเหตุผลหลายประการด้วยกัน ประการแรก ระดับของความซับซ้อนของเทคโนโลยีในสังคมปัจจุบัน ประการที่สอง ไอทีกำลังขับเคลื่อนลงลึกไปในทุกภาคส่วน หลังจากที่ขับเคลื่อนมาอย่างช้าๆ ในช่วงทศวรรษที่ 70 ถึง 80   คนเราก็อาจจะไม่จำเป็นต้องการระบบไอทีเพื่อประสิทธิภาพที่ดีขึ้นอีกต่อไป แต่กลับมีความจำเป็นในเรื่องของการคาดการณ์อนาคตในเชิงกลยุทธ์ด้านไอทีมากกว่า และท้ายที่สุด ไอทีมีอยู่ในทุกภาคส่วน และทุกภาคส่วนต้องพึ่งพาไอที นับตั้งแต่การเงินไปจนถึงการผลิต ไม่ว่าจะเป็นการดูแลสุขภาพ การขนส่ง ไปจนถึงหุ่นยนต์ และเรื่องอื่นๆ

โลกของเราจึงจำเป็นต้องมีมาตรฐานเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นรวมทั้งเอไอ โดยระบบนิเวศของเอไอได้รับการแบ่งออกเป็นหัวข้อต่างๆ ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านวิชาการ สังคม และจริยธรรม รวมถึงกลุ่มที่กว้างขวาง ได้แก่ มาตรฐานพื้นฐาน วิธีการและเทคนิคในการคำนวณ ความน่าเชื่อถือ และการระบุ application domains

สำหรับมาตรฐานพื้นฐาน ด้วยมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่แตกต่างกันมาก จุดเริ่มต้นพื้นฐานมีการทำงานของคณะกรรมการในด้านมาตรฐานพื้นฐาน ซึ่งมองที่มุมมองของเอไอว่ามีความจำเป็นต้องใช้คำศัพท์ร่วม รวมทั้งอนุกรมวิธานคำศัพท์และนิยาม ท้ายที่สุด มาตรฐานเหล่านี้จะทำให้ผู้ปฏิบัติงาน เช่น ผู้ควบคุมกฎ ผู้เชี่ยวชาญ สามารถพูดภาษาเดียวกัน  ส่วนวิธีการและเทคนิคในการคำนวณ หัวใจของเอไอคือการประเมินของแนวทางทางการคำนวณและคุณลักษณะของระบบเอไอ ซึ่งรวมทั้งการศึกษาเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน (เช่น อัลกอริทึม การให้เหตุผล เป็นต้น) ซึ่งมีการใช้ในระบบเอไอ คุณสมบัติและคุณลักษณะ รวมทั้งการศึกษาระบบเอไอเฉพาะด้านที่มีอยู่เพื่อทำความเข้าใจและระบุแนวทางการคำนวณ โครงสร้าง และคุณลักษณะ กลุ่มที่ทำการศึกษานี้จะรายงานถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในด้านนี้แล้วแนะนำการมาตรฐานในด้านที่มีความจำเป็น  ส่วนความน่าเชื่อถือ เป็นหนึ่งในหัวข้อที่ท้าทายสำหรับอุตสาหกรรม ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับเอไอ กลุ่มการศึกษากำลังพิจารณาเรื่องของความน่าเชื่อถือและความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ระบบเอไอมีความเข้มแข็ง โปร่งใส และปราศจากอคติ  สำหรับการระบุ application domains บริบทที่เอไอมีการนำไปใช้และรวบรวมกรณีตัวอย่างการใช้งานที่เป็นตัวแทน ถือว่าการขนส่งและการขับเคลื่อนอัตโนมัตินับเป็นหนึ่งในกลุ่มดังกล่าว

วิลเลียมได้คาดการณ์ถึงมาตรฐานเอไอซึ่งเขามั่นใจว่าการรับเอามาตรฐานไปใช้ในภาคส่วนต่างๆ นั้นไม่เพียงแต่จะประสบความสำเร็จเท่านั้น แต่ยังสะท้อนถึงเทคโนโลยีหลักๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่เราเป็นอยู่ด้วย

ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2336.html    

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้